ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot




สำหรับคุณครูทุกสังกัด ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ article

 ควร Post ด้วยตัวอักษรขนาด 12 จะดูดีที่สุด 




เผยแพร่งานวิชาการ




[1]

ความคิดเห็นที่ 5 (168804)

 ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้  TONKHORS  MODEL โรงเรียนราชประชา509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1

ผู้วิจัย นางนิลุบล  ชุมแวงวาปี
สถานศึกษา โรงเรียนราชประชา509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีที่วิจัย 2563-2564
 
บทคัดย่อ
 
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS  โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 4) เพื่อศึกษาผลการประเมินความพึงพอใจรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1   ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน 7 คน บุคลากรทางการศึกษา 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 8 คน (ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน) นักเรียน 60 คน ผู้ปกครอง 60 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ  2) แบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ 3) แบบตรวจสอบ 1 ฉบับ 4) แบบประเมิน 1 ฉบับ  5) แบบวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
ผลการวิจัยพบว่า    
   1. ผลการศึกษา สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพโดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 สภาพปัจจุบัน  โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน  ส่วนด้านระดับปัญหา โดยรวมอยู่ในระดับ มากทุกด้าน  และความต้องการ อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ด้าน ระดับมาก 3 ด้าน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประกอบด้วย 1.ด้านการทำงานเป็นทีม (T : Teamwork) 2.ด้านมุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา(O = Ongoing development ) 3.ด้านเครือข่ายคุณภาพ( N : Network Quality) 4ด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้และความสุข ( KH =   Knowledge & Happiness) 5.ด้านองค์กรคุณภาพ (O : Organization)6.ด้านความพร้อม( R : Readiness) 7 ด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(S  : Sufficiency Economy) โดยมีความสัมพันธ์กันทั้ง 7 ด้าน
3. ผลการศึกษาการทดลองการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.48 
4. ผลการศึกษา การประเมินความพึงพอใจรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.54
    
 
ผู้แสดงความคิดเห็น นิลุบล วันที่ตอบ 2022-06-06 16:22:56


ความคิดเห็นที่ 4 (168803)

 ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1

ผู้ประเมิน นางนิลุบล  ชุมแวงวาปี
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
หน่วยงาน โรงเรียนรัฐประชา 509  อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยใช้การประเมินตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งเป็นแนวคิดของสติฟเฟลบีม (Stufflebeam) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยแบ่งการประเมินเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย 4.1) การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ 4.2) การวิเคราะห์ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 และการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4.3) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการ และ 4.4) การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อโครงการ กลู่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ครู จำนวน  11 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน นักเรียนจำนวนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 คน ปีการศึกษา 2563 และ ผู้ปกครองนักเรียนของนักเรียนจำนวนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 60 คน  รวมทั้งสิ้น 139 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า (Rating  Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )  
ผลการประเมินโครงการ  พบว่า การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (µ=4.42, σ=0.69)  ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีรายละเอียดดังนี้
1. การประเมินด้านบริบทของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.24, σ=0.64) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด 
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.44, σ=0.69) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด 
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.48, σ=0.74) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการวางแผน  (Plan) รองลงมาคือ ด้านการดำเนินงาน  (Do) ด้านการปรับปรุง (Action)  และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการตรวจสอบ  (Check) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด 
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประกอบด้วย 5 ด้าน  ประกอบด้วย
4.1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ตามความคิดเห็นของ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ=4.51, σ=0.69) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด 
4.2 การวิเคราะห์การเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด และ ผลการเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563  ระหว่างคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนกับค่าเฉลี่ยระดับประเทศ พบว่า โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยมากกว่าระดับประเทศ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด และการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 4.35 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน 
4.3 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.44, σ=0.76) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด 
4.4 การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.45, σ=0.75) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น นิลุบล วันที่ตอบ 2022-06-06 16:21:46


ความคิดเห็นที่ 3 (140719)

 ชื่อเรื่อง            :     รายงานผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es)

                                  เรื่อง สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

                                  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ชื่อผู้ศึกษา         :     นางน้ำค้าง   ผลินยศ

หน่วยงาน           :     โรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี

                          จังหวัดอุดรธานี

ปีที่รายงาน         :     2556

บทคัดย่อ

           รายงานผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es)  เรื่อง สารและ การเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ โรงเรียน เทศบาล 2 มุขมนตรี  สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es)  เรื่อง สาร และการเปลี่ยนแปลงของสาร  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75     (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es)  เรื่อง สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6       ก่อนเรียนและหลังเรียน (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับ   การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) เรื่อง สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร      กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ในการศึกษาครั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี ปีการศึกษา 2556 จำนวน 44 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย

1.  แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

จำนวน 15 แผน

2.  แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ

3.  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้  7 ขั้น  (7Es)  จำนวน 40  ข้อ

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการศึกษา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การหาประสิทธิภาพ E1/E2 ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ตามเกณฑ์ และการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้  t-test  แบบ Dependent Samples  ผลการศึกษา พบว่า

1.  แผนการจัดการเรียนรู้  เรื่อง สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556  มีประสิทธิภาพ 79.55/78.01   สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 75/75

2.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้      7 ขั้น (7Es) เรื่องสารและการเปลี่ยนแปลงของสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน และเมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบ    สืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 18.32 และคะแนนเฉลี่ย    หลังเรียน          เท่ากับ 31.20 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

3.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) เรื่องสารและการเปลี่ยนแปลงของสาร มีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน

ข้อเสนอแนะ

1.  ข้อเสนอแนะทั่วไป

1.1  ควรนำแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ไปปรับใช้ กับนักเรียนห้องอื่น หรือระดับชั้นอื่น ๆ โดยปรับเนื้อหา ระยะเวลาให้ยืดหยุ่นเหมาะสมกับสภาพนักเรียนและบริบทของห้องเรียนนั้น ๆ

1.2  ครูควรกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยใช้สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและน่าสนใจในปัจจุบัน รวมถึงใช้คำถามที่น่าสนใจ โดยจัดลำดับคำถามให้ชัดเจนไม่วกวนไปมา

1.3  ผู้ที่จะนำแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องสารและการเปลี่ยนแปลงของสารนักเรียน        ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรทำการปฐมนิเทศนักเรียนให้เข้าใจแนวทางการเรียนรู้ก่อน และครูควรวิเคราะห์ผู้เรียนก่อนโดยแยกเป็นกลุ่ม เก่ง ปานกลางและอ่อนเพื่อการจัดกลุ่มโดยคละเด็กเก่ง กลาง และอ่อน เพื่อประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้

2.  ข้อเสนอแนะในการศึกษาต่อไป

2.1  ควรมีการพัฒนาแผนการสอนและเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเพิ่มเติม

2.2  ควรมีการเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) และการจัดการเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ

2.3  ควรมีการบูรณาการการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นกับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ โดยปรับให้เหมาะสมกับสภาพผู้เรียนและสภาพแวดล้อม    ของผู้ศึกษา

2.4  ในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) การแบ่งเนื้อหาย่อย ๆ ออกเป็นส่วน ๆ นั้นควรคำนึงถึงเวลาที่ใช้ในการเรียนการสอนด้วย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น น้ำค้าง ผลินยศ (namk-dot-tonkla-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-09-09 22:38:51


ความคิดเห็นที่ 2 (55476)

 

ชื่อเรื่อง                     รายงานการสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบสื่อประสม
   เรื่องเบญจศีล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้รายงาน             นางปราณี ฤทธิชัย
ชื่อหน่วยงาน             โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 1 เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ปีที่รายงาน                2551
 
บทคัดย่อ
 
การสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบสื่อประสม เรื่องเบญจศีล  ชั้นประถมศึกษาปีที่   มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบสื่อประสม             เรื่องเบญจศีล ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบสื่อประสม เรื่องเบญจศีล และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบสื่อประสม เรื่องเบญจศีล  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2           ปีการศึกษา 2551 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2/3โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑  สำนักงานเขตหลักสี่  กรุงเทพมหานคร โดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 31  คน ที่มีพื้นความรู้และทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ Windows Me หรือ Windows Xp เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบสื่อประสม เรื่องเบญจศีล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2    ที่เขียนจากโปรแกรม Desktop Author แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินคุณภาพการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ และแบบประเมินความ พึงพอใจของนักเรียนในการศึกษาจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นำมาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ ได้แก่     ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ยเลขคณิต () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-test)
ผลจากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบฝึกหัดและการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน E /Eมีค่าเท่ากับ 81.54/82.26  แสดงว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบสื่อประสม  เรื่องเบญจศีล  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2   มีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบสื่อประสม  เรื่องเบญจศีล  สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบสื่อประสมที่สร้างขึ้น ได้แก่ ส่วนของเนื้อหา (= 5.00 ,S.D.=0.00) ส่วนของเนื้อหา (=4.98 ,S.D.=0.09) และ ส่วนของแบบทดสอบ (= 4.97 ,S.D.=0.12) สรุปความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ
ผู้แสดงความคิดเห็น ปราณี ฤทธิชัย วันที่ตอบ 2009-04-07 21:08:52


ความคิดเห็นที่ 1 (54491)

 

ชื่อเรื่อง  รายงานผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ช่วงชั้นที่1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3)
ชื่อผู้รายงาน              นางสาวนันทนา ฤกษ์วิชานันท์
ชื่อหน่วยงาน              โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 1 เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ปีที่ศึกษา   2551
 
 
บทคัดย่อ
 การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป ให้มีประสิทธิภาพเป็นไป
ตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เมื่อใช้บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3) ปีการศึกษา 2551
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/4  ปีการศึกษา 2551
โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 1 สำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3) จำนวน 5 เรื่อง และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test)
                จากการศึกษาพบว่า บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3) มีประสิทธิภาพ 81.39/82.17ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3) มีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผู้แสดงความคิดเห็น นันทนา ฤกษ์วิชานันท์ วันที่ตอบ 2009-04-06 22:43:54



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑ 326 หมู่2 แขวงทุ่งสองห้อง สำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โทร. 02 5734835